หากว่าท่านมีคำถามที่ท่านสงสัยโปรดตรวจคำถามด้านล่างหรือส่งข้อความหาเรา

การเตรียมข้อมูลก่อนจะติดตั้งเครื่องชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า

1.จะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเท่าไหร่?

จะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเท่าไหร่?

ให้เช็คดูที่ on-board charger ของรถยนต์เป็นหลัก เช่น on-board charger = 7.2 kW >> ควรเลือกใช้เครื่องชาร์จขนาด 7.4 kW (เพราะหากซื้อขนาด kW ที่มากกว่า 7.4 นั้นก็จะไม่สามารถชาร์จได้เร็วขึ้น เนื่องจากความเร็วในการชาร์จขึ้นอยู่กับ on-board charger]

แต่ถ้าหากในอนาคตคุณมีแผนที่จะซื้อรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% [on-board charger มากกว่า 11 kW ขึ้นไป ] ควรซื้อเครื่องชาร์จรุ่น 22 kW เนื่องจาก
1. การเดินสายไฟของเครื่องชาร์จเป็นแบบไฟ 3 เฟส ขนาดสายไฟรองรับการจ่ายไฟในกระแสสูงๆ ได้
2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟใหม่
3. ในอนาคตขนาด on-board ของรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เพื่อให้สามารถชาร์จไฟใส่แบตเตอรี่ที่ขนาดใหญ่ได้เต็มเร็วมากขึ้น

2.การชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งครั้งใช้เวลานานไหม? และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ชาร์จรถ 1 ครั้งใช้เวลานานเท่าไหร่?
ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ (kWh), ขนาด on-board charger (kW), ขนาดกำลังการจ่ายไฟของเครื่องชาร์จ (kW)

ข้อมูลที่ต้องทราบเพื่อการคำนวณ
1. ขนาด battery capacity (หน่วย kWh)
2. ขนาด on-board charger (หน่วย kW)

ตัวอย่างเช่น
รถ Mercedes Benz รุ่น E 300e  (PHEV)
Battery Capacity : 13.5  kWh
On-board charger : 7.2 kW
จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ที่เหลือ 15% เต็มภายใน =  13.5(0.85) / 7.2 =1 ชั่วโมง 40นาที 

หมายเหตุ
– การจ่ายไฟจากเครื่องชาร์จจ่าย (kW) เช่น 7.4kW การรับไฟของ on-board charger (kW) เช่น 3.7 kW : ไฟที่เข้าและจำนวนชั่วโมงในการชาร์จจะถูกจำกัดที่ on-board charger ที่ 3.7 kW
– การจ่ายไฟจากเครื่องชาร์จจ่าย (kW) เช่น 7.4kW  การรับไฟของ on-board charger (kW) เช่น 22 kW : ไฟที่เข้าและจำนวนชั่วโมงในการชาร์จจะถูกจำกัดการจ่ายไฟของเครื่องชาร์จ ที่ 7.4 kW

การชาร์จ 1 ครั้งเสียค่าไฟเท่าไหร่?

ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า หากขนาดของแบตใหญ่ค่าไฟในการชาร์จต่อครั้งก็จะยิ่งมาก แต่ก็สามารถวิ่งได้นานขึ้น โดยก่อนที่จะซื้อรถ สามารถสอบถามขนาดแบตเตอรี่จากพนักงานขายและคำนวณค่าใช้จ่ายในการชาร์จต่อครั้งง่ายๆ ตามวิธีในการคำนวนด้านล่างนี้เลย

วิธีในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าต่อการชาร์จ 1 ครั้งสามารถคำนวนคร่าวๆ ได้ดังนี้
สมมติ
ราคาค่าไฟหน่วยละ 4 บาท
ขนาดแบตเตอรี่ 13.5 kWh

ดังนั้นค่าไฟในการชารจ์จากแบตหมดจะเต็ม/ครั้ง = 13.5 kwh x 4 บาท = 54 บาท 

3.บ้านใช้ไฟ 1 เฟส 15/45 A จำเป็นไหมที่จะต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์เพื่อให้สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้?

สำหรับรถ PHEV (on-board charger น้อยกว่า 7.4 kW) ทางทีมงานแนะนำให้เปลี่ยนเป็น 1 เฟส 30/100 A เป็นอย่างต่ำ

หากไม่เพิ่มขนาดมิเตอร์ก็สามารถใช้งานได้โดย
1.ปรับเปลี่ยนการใช้ไฟในสถานที่ติดตั้งลงในขณะที่ชาร์จรถ เช่นจากที่เคยเปิดแอร์ 2 ตัวพร้อมกัน จะเปิดได้เพียงแค่ 1 ตัว เพื่อให้ใช้ศักยภาพของเครื่องชาร์จได้เต็มที่ มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาเรื่องไฟไม่พอ
2. ลดกำลังไฟในการชาร์จลงและใช้เวลาชาร์จนานขึ้น

สำหรับรถ EV [on-board chager มากกว่า 7.4 kW] ควรเปลี่ยนเป็น 3 เฟส 30/100 A จะดีที่สุด เพื่อให้คุณสามารถใช้ไฟได้อย่างปกติและใช้ศักยภาพเครื่องชาร์จได้อย่างเต็มที่

4.หากต้องการเพิ่มขนาดมิเตอร์จะต้องทำอะไรบ้าง และมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่?

ขั้นตอนการขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้ามีดังนี้
1. ติดต่อไปที่ผู้ให้บริการไฟฟ้าที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ของท่าน
2. ติดต่อช่างไฟฟ้าในอาคารที่ท่านให้ความไว้ใจเพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการใช้ไฟในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือให้เราดำเนินการให้ปรับเปลี่ยนให้
3. ทางการไฟฟ้าจะมาตรวจสอบเพื่ออนุมัติการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าให้ท่าน

แนวทางในการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
A. การเปลี่ยนสายไฟในบ้านทั้งหมดเพื่อรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตัวอย่าง มาตรฐานของการเปลี่ยนมิเตอร์ตามที่ PEA กำหนดมีดังนี้
1. การเดินสายไฟจากมิเตอร์ มายังแผงควบคุมวงจร (ค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟจะตามระยะทางจากมิเตอร์มายังแผงควบคุมวงจรหลักนะครับ)
2. การเปลี่ยนขนาดของตู้ main breaker (หากขนาดตู้ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการรองรับ breaker ย่อยที่จะเพิ่มขึ้น)
3. การเพิ่มขนาดของสายดิน
4. ติดตั้งเต้ารับ 3 ขา (ตามมาตรฐานของ กฟภ. จำเป็นจะต้องติดตั้ง หากมีการติดตั้งอยู่แล้วก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ครับ)

ราคาค่าบริการในการเตรียมการเปลี่ยนมิเตอร์ (ราคาที่แสดงนี้คือราคาประมาณการจากผู้ให้บริการที่การไฟฟ้าแนะนำ หากท่านมีช่างในอาคารที่รู้ใจ ก็สามารถให้ช่างของท่านปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานข้างต้นที่การไฟฟ้ากำหนดไว้ได้เช่นกัน ราคาก็จะถูกค่าบริการก็จะถูกลง)
1. สำหรับ เปลี่ยนมิเตอร์จาก 1 เฟส 15/45 เป็น 30/100 ราคาประมาณ 30,000 – 40,000 บาท (ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงานและค่าอุปกรณ์นะครับ)
2. สำหรับ เปลี่ยนจาก 1 เฟส เป็น 3 เฟส ค่าใช้จ่ายประมาณ 60,000 บาท ขึ้นไป

B. การเดินสายจากมิเตอร์ไฟฟ้ามาถึงจุดติดตั้งโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนสายไฟในบ้าน >> ทาง Wallbox EV Charger Khonkaen มีบริการเสริมในการเดินสายไฟจากมิเตอร์มาที่จุดติดตั้งในบ้านของท่าน ซึ่งสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร .096-1492826 

5.หากกำลังสร้างบ้านใหม่ จะต้องบอกช่างที่ทำบ้านอย่างไรหากต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จในอนาคต

หากคุณกำลังสร้างบ้านและต้องการให้ช่างเดินสายไฟมาตรงจุดติดตั้งเลยเพื่อความสวยงาม ทางทีมงานขอแนะนำให้เตรียมความพร้อมดังนี้
1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่แนะนำ : 3 phase 30/100A (สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต)
2. ขนาดสายไฟที่เดินมาที่จุดติดตั้ง : 
สำหรับติดตั้งเพื่อรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน = 6 Sq.mm (หากสถานที่ติดตั้งอยู่ไกลจาก main breaker เกิดกว่า 30 เมตร จะต้องเพิ่มขนาดสายไฟเป็น 10 sq.mm เพื่อให้สายไฟนำไฟฟ้ามาถึงจุดติดตั้งได้อย่างเพียงพอ เพราะความยาวสายที่มากจะมี lost ในระบบมาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องเพิ่มขนาดสายไฟให้ใหญ่ขึ้น
สำหรับการติดตั้งเพื่อรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 2 คัน = 16 sq.mm
3. Main Breaker :
 เตรียมช่องสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ 3 pole

6.เครื่องชาร์จไฟมีข้อแตกต่างกันไหมยี่ห้อ Wallbox

สรุปความแตกต่างของเครื่องชาร์จ wallbox สำหรับติดตั้งที่บ้านและหน่วยงานธุรกิจ ดังนี้

  1. Pulsar Plus
    – รุ่นพื้นฐาน สามารถใช้ร่วมกับรถยนต์ได้ทุกค่าย เพียงแต่จะต้องเลือกหัวชาร์จให้เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากหัวชาร์จนั้นจะติดมากับเครื่องชาร์จตั้งแต่การผลิต
    – แสดงสถานะเครื่องชาร์จให้เห็นชัดๆ ด้วยไฟ LED 
    – เครื่องชาร์จมีสีขาวและสีดำให้เลือก
  2. Copper SB
    – เต้ารับ Type 2 สามารถรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ทุกค่ายในเครื่องเดียง เพียงแค่มีสายชาร์จที่ปลายสายด้านหนึ่งเป็น Type 2 ที่เสียบเข้ากับเครื่องชาร์จ ปลายสายอีกด้านหนึ่งเป็นเป็นหัวชาร์จ Type 1 หรือ 2 ก็ได้ตามการใช้งานในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
    – แสดงสถานะเครื่องชาร์จด้วยไฟ LED บนมุมขวาบนของเครื่อง
    – เครื่องชาร์จมีเพียงสีดำเท่านั้น

    3. Commander 2
    – หน้าจอสัมผัส ใช้งานง่าย ให้ภาพลักษณ์ premium
    – เข้าใช้งานเครื่องชาร์จได้ด้วย pin code
    – สามารถใช้ร่วมกับรถยนต์ได้ทุกค่าย เพียงแต่จะต้องเลือกหัวชาร์จให้เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากหัวชาร์จนั้นจะติดมากับเครื่องชาร์จตั้งแต่การผลิต
    – แสดงสถานะเครื่องชาร์จด้วยไฟ LED บนมุมขวาบนของเครื่อง
    – เครื่องชาร์จมีสีขาวและสีดำให้เลือก

    4. Quasar (เหมาะกับการใช้งานในบ้าน)
    – เครื่องชาร์จแบบ Direct Charge (DC) สำหรับติดตั้งในบ้านที่เล็กที่สุด น้ำหนักเพียง 20 กิโลกรัมเท่านั้น
    – หัวชาร์จแบบ ChadeMo (ปัจจุบันสามารถใช้ได้กับรถ Mitsubishi Outlander และ Nissan Leaf เท่านั้น)
    – สามารถจ่ายไฟจากบ้านเข้ารถได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน on-board charger ของรถยนต์ ด้วยกำลังไฟ 7.4 kW
    – ช่วยลดค่าไฟในช่วงเวลาที่ค่าไฟแพง เพราะ Quasar สามารถดึงไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์จ่ายกลับเข้าไปใช้งานในบ้านได้ (แต่จะใช้งานได้นานเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่รถยนต์ และ ขนาดของการใข้ไฟ)
    – สั่งการเครื่องชาร์จด้วยระบบ body gesture
    – ปลดล็อกเครื่องชาร์จด้วยระบบ Facial recognition
    – ไม่สามารถ black start ได้จำเป็นจะต้องมีไฟหล่อเลี้ยงเครื่องจึงสามารถใช้งานได้

7.ราคาที่แสดงในเว็บนั้นเฉพาะค่าเครื่องอย่างเดียวหรือไม่?

ราคาที่แสดงนั้นคือราคา package ที่รวมค่าสินค้าและบริการดังนี้

ราคาที่รวมค่าติดตั้ง และราคาที่ไม่รวมค่าติดตั้งตามราคาที่แสดง

  1. เครื่องชาร์จ Wallbox และยี่ห้ออื่นๆ
  2. ค่าอุปกรณ์* และบริการติดตั้งและทดสอบทั่วประเทศ(ในกรณีที่มีการเดินทางใกลเกิน 80.km.จะมีค่าเดินทางเพิ่มเติมตามความเหมาะสม)
  3. ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
  4. ค่าประกันงานติดตั้ง 2 ปี
  5. ค่าประกันสินค้า 2 ปี 

    *ค่าบริการนี้ได้รวมค่าอุปกรณ์ คือ สายไฟและท่อยาว 20 เมตรไว้แล้ว หากในการติดตั้งจริงใช้จำนวนสายไฟและท่อเกินกว่า 20 เมตร จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนที่เกิน สำหรับ 1 phase ที่ เมตรล่ะ 250 บาท / 3 phase ที่เมตรละ 350 บาท

8.หากต้องการเพิ่มขนาดมิเตอร์ Wallbox EV Charger Khonkaen มีบริการปรับเปลี่ยนสายไฟให้ด้วยหรือไม่?

Wallbox EV Charger Khonkaen เรามีบริการปรับเปลี่ยนขนาดสายไฟภายในบ้านเพื่อรองรับการเปลี่ยนขนาดมิเตอร์นะครับ แต่ ไม่บริการปรับเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ เพราะหน้าที่นี้เป็นของการไฟฟ้า แต่เราช่วยให้คำแนะนำขั้นตอนต่างๆให้ได้ หรือจะให้เราช่วยดำเนินการขอมิเตอร์ตามขนาดที่ต้องการของรถได้ (อาจจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเติมตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับการตกลงกัน)

เรามีบริการเดินสายจากมิเตอร์มาที่จุดติดตั้งเครื่องชาร์จโดยตรง ในกรณีที่ขอมิเตอร์เพิ่ม (ติดตั้งวงจรที่สอง) โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนสายไฟในบ้านนะครับ โดยจะมี package เพิ่มเติมให้เลือกตามความต้องการของลูกค้าราคาคุยตกลงกันได้ หากมีข้อสงสัยให้โทรมาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.096-1492826

9.ติดตั้งกับ Wallbox EV Charger Khonkaen ปลอดภัยและดีจริงหรือ?

เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าจะมีการเดินสาย Line, Neutral, Ground และติดตั้ง External RCD type A ใหม่ เป็นมาตรฐานความปลอดภัยของการไฟฟ้าในการติดตั้งสำหรับทุกเครื่อง เรามีทีมงานที่ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้โดยเฉพาะ มีใบเซอร์รับรอง

10.Wallbox EV Charger เป็นแบบชาร์จเร็วใช่ไหม ทำให้แบตเสื่อมเร็วใช่หรือไม่ ?

ผลิตภัณฑ์ Wallbox EV Charger นั้นมีทั้งแบบ การชาร์จปกติ (Normal charge) และ การชาร์จเร็ว (Fast Charge) ซึ่งทั้ง 2 แบบไม่ส่งผลต่อความเสื่อมของแบตเตอรี่ สิ่งที่ส่งผลให้แบตเตอรี่เสื่อมการใช้งานลงก่อนเวลาอันควร คือ

  1. การเสียบเครื่องชาร์จทิ้งไว้โดยเครื่องชาร์จยังจ่ายไฟอยู่ ไม่ตัดไฟเมื่อแบตเต็มแล้ว
  2. การจอดรถตากแดดนานๆ  
11.Wallbox EV Charger สามารถติดตั้งนอกอาคารได้ไหม อันตรายต่อการใช้งานหรือไม่ และหากโดยฝนสาดแล้วจะทำให้เครื่องเสียหรือไหม?

Wallbox EV Charger ทุกรุ่นสามารถติดตั้งและชาร์จในขณะที่ฝนตกได้ ตัวเครื่องและสายชาร์จสามารถโดนน้ำได้ แต่ไม่ควรให้หัวชาร์จโดนน้ำ เพราะจะทำให้สายชาร์จชื้นส่งผลให้อายุการใช้งานของสายชาร์จลดลง ทางที่ดีเมื่อมีการเลิกใช้งานเครื่องชาร์จแล้วควรนำหัวชาร์จเก็บเข้าที่จัดเก็บหัวชาร์จให้เรียบร้อย หรือนำปลอกหัวชาร์จมาปิดเพื่อยืดอายุการใช้งานของหัวชาร์จค่ะ นอกจากนี้ทางผู้เชี่ยวชาญจะทำการติดอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดและเดินสาย ground ให้อยู่แล้วเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

wallbox EV Charger ทุกรุ่นสามารถกันน้ำและฝุ่นได้ (IP 54) โดยได้รับการทดสอบแล้วจากห้อง lab ของ wallox EV Charger ในต่างประเทศ โดยการนำผลิตภัณฑ์ไปแช่น้ำและทำการชาร์จไฟเข้ารถยนต์สามารถใช้งานได้ 

12.Wallbox EV Charger Khonkaen มีบริการอะไรบ้าง?

บริการครบวงจรเกี่ยวกับ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

Wallbox EV Charger Khonkaen ให้บริการติดตั้งพร้อมจัดหาเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ( EV Charger) ในราคาพิเศษ ตัวเลือกหลากหลายที่เหมาะกับคุณที่สุด ท่านสามารถเลือก Design และ Spec ของเครื่อง EV Charger ที่ท่านต้องการโดยเรามีตัวเลือกอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย และได้คัดสรรค์เครื่องชาร์จ แบรนด์ดัง คุณภาพดีเยี่ยม ด้วยราคาพิเศษ และ มีตัวเลือกการติดตั้งที่ช่วยเหลือคุณ ในทุกขั้นตอน และเราพร้อมนำเสนอเครื่องชาร์จ EV ล่าสุดจาก Wallbox, Enelx Juicebox Teison Bcharge Schneider, Duosida, Besen, Keba ทั้งยังสามารถช่วยคุณเลือกอุปกรณ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ด้วยงบประมาณที่คุณตั้งเป้าไว้ นอกจากจำหน่ายเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำแล้ว ทาง Wallbox EV Charger Khonkaen ยังรับติดตั้งเครื่องชาร์จของค่ายรถยนต์ทั้ง Porsche, Mercedes Benz, BMW, Tesla, MG ฯลฯ ในราคาย่อมเยาว์ โดยทีมงานที่เชี่ยวชาญเรื่องไฟฟ้ามืออาชีพที่ชำนาญด้านการติดตั้งโดยเฉพาะ

13.บริการติดตั้ง Wallbox EV CHARGER เฉพาะในขอนแก่นหรือไม่?
  • เขตพื้นที่ขอนแก่นและใกล้เคียง ค่าบริการเริ่มต้นที่ 12,000 บาท (รวมค่าอุปกรณ์ตามมาตรฐานของบริษัท) นอกพื้นที่ก็ไปขึ้นอยู่กับการตกลงกันครับรับหมด

หมายเหตุ: อุปกรณ์มาตรฐานประกอบด้วย

   
  • สายไฟระยะไม่เกิน 20 เมตร
  • เบรคเกอร์ป้องกันไฟดูด (เฉพาะ EV Charger รุ่นที่ไม่มีเบรคเกอร์กันไฟดูด)
  • กล่องกันน้ำ
  • อุปกรณ์ประกอบการติดตั้งเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
  • Surge Protection อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า (Option)

              สอบถามรายละเอียดการติดตั้งเพิ่มเติมได้ที่ 096-1492826

เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอมิเตอร์ลูกที่ 2

การดำเนินเรื่องขอมิเตอร์ตัวที่สองกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอนุญาตให้สามารถขอมิเตอร์ไฟฟ้าตัวที่สองสำหรับชาร์จรถไฟฟ้าโดยเฉพาะได้ มิเตอร์ตัวที่สองไม่จำเป็นต้องมีขนาดและประเภทเดียวกันกับมิเตอร์ไฟฟ้าตัวแรก ช่องทางติดต่อหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA Call Center 1129

  • สถานที่ต้องมีการดำเนินงานเพื่อรองรับการชาร์จโหมด 2 หรือ 3 ตามมาตราฐาน PEA
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้าภายใน
  • ระบบไฟฟ้าภายในมิเตอร์เครื่องที่ 1 และเครื่องที่ 2 ต้องแยกจากกันโดยเด็ดขาด
  • ติดตั้งเครื่องชาร์จรถ EV หรือ เต้ารับสำหรับชาร์จ โดยเต้ารับต้องไม่ใช่ชนิดหยิบยกได้

เอกสารที่ต้องเตรียมในกรณียื่นในนามบุคคล

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอติดตั้ง
  • เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า หากไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องมีหนังสือยินยอม
  • บิลค่าไฟ
  • รายละเอียดทางเทคนิคอุปกรณ์ของเครื่องชาร์จหรือรถยนตร์
  • สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบในกรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

เอกสารที่ต้องเตรียมในกรณียื่นในนามนิติบุคคล

  • หนังสือรับรองบริษัทไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์การไฟฟ้า
  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ พร้อมกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อพร้อมประทับตราบริษัทฯในกรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2

สำหรับ 1 Phase
ประเภทมิเตอร์ ขนาด ค่าใช้จ่าย
ธรรมดา 15 (45) 700
ธรรมดา 30 (100) 700
TOU 15 (45) 3,740
TOU 30 (100) 3,740
สำหรับ 3 Phase
ประเภทมิเตอร์ ขนาด ค่าใช้จ่าย
ธรรมดา 15 (45) 700
ธรรมดา 30 (100) 1,500
TOU 15 (45) 5,340
TOU 30 (100) 5,340

เมื่อผ่านการตรวจสอบมาตราฐานแล้ว จะเข้าติดตั้งภายใน 2 – 5 วันทำการ
PEA จะคิดและออกใบแจ้งแยกรายมิเตอร์
โดยหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้าและรหัสเครื่องวัด จะแตกต่างกัน

ตรวจสอบก่อนติดตั้ง EV CHARGER

ในการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ก่อนการติดตั้งเราควรตรวจสอบทั้งตัวรถและสถานที่ เพื่อแจ้งข้อมูลเบื้องต้นกับทางบริษัทที่เข้ามาติดตั้ง เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งตัวเครื่องชาร์จ และเลือกเครื่องชาร์จให้เหมาะสม

1.ตรวจสอบประเภทหัวชาร์จ

หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีหลากหลายรูปแบบตามผู้ผลิตและประเทศที่จำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า สามารถแบ่งประเภทได้ดั้งนี้

หัวชาร์จ Type 1

รูปแบบหัวชาร์จนี้นิยมใช้ใน EV ของฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น หัวต่อแบบ 5 Pin เป็นการชาร์จแบบ Single Phase รองรับกระแสไฟฟ้าได้ 32A (7.4 kWh)

หัวชาร์จ Type 2

เป็นรูปแบบที่นิยมใช้สำหรับ EV ในยุโรป สามารถพบได้ทั่วไปตามสถานีชาร์จสาธารณะ เป็นหัวต่อ 7 Pin จ่ายไฟอยู่ที่ 3.7kW แต่ในผู้ผลิตบางรายได้พัฒนาให้เป็นรูปแบบ 3 Phase ทำให้จ่ายไฟได้ถึง 22kW และมีเพียง Tesla เท่านั้นที่มีการใช้ Type 2 แบบ DC โดยตามเอกสารนั้นสามารถจ่ายไฟได้ถึง 130kW

หัวชาร์จ Type GB/T

หัวชาร์จรูปแบบนี้จะพบได้ในรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน เช่น BYD, Great Wall Motors (GWM) โดยหัวชาร์จมีลักษณะคล้ายกับหัวชาร์จของ Type 2 แต่มีข้อต่อตัวผู้เพิ่มออกมา
ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายในไทยส่วนใหญ่นั้นจะเป็นหัวชาร์จ Type 2 เนื่องจากเป็นมาตราฐานที่หน่วยงานในไทยแนะนำไว้

2.ตรวจสอบ On Board Charger

เป็นอุปกรณ์ที่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในระบบชาร์จแบตเตอรี่ในตัวรถยนต์ EV โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงไฟกระแสสลับ AC เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC ทั้งนี้ขนาดของ On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ EV ขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟให้แบตเตอรี่

3.ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

เราสามารถตรวจสอบขนาดของมิเตอร์ไฟได้จากตัวมิเตอร์ไฟ โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 1 Phase 15(45) สำหรับผู้ที่ต้องการติดเครื่องชาร์จรถยนต์ ถ้ามิเตอร์ไฟ 1 Phase แนะนำให้เปลี่ยนมิเตอร์ไฟเป็นขนาด 30(100) ส่วนมิเตอร์ไฟ 3 Phase สามารถใช้ขนาด 15(45) ได้

4.เลือกจุดติดตั้งที่เหมาะสม

  • จุดที่ติดตั้งเครื่องชาร์จกับจุดจอดรถไม่ควรมีระยะห่างเกิน 5 เมตรเนื่องจากสายเครื่องชาร์จโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 5-7 เมตร หากสายเครื่องชาร์จตึงเกินไปมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายกับเครื่องชาร์จได้
  • จุดที่ติดตั้งเครื่องชาร์จควรสะดวกต่อการเดินไฟจากตู้เมนไฟฟ้าภายในบ้าน
  • ควรเลือกจุดที่มีหลังคาสามารถป้องกันน้ำฝนและแสงแดดได้ สามารถยืดระยะการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง AC และ DC คืออะไร?

‘เชื้อเพลิง’ ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้ามี 2 ประเภท คือ กระแสสลับ (AC) และกระแสตรง (DC) พลังงานที่มาจากกริดนั้นเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเสมอ อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่เช่นเดียวกับใน EV ของคุณสามารถเก็บพลังงานเป็น DC เท่านั้น นั่นเป็นเหตุผลที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่มีตัวแปลงอยู่ในปลั๊ก คุณอาจไม่รู้ตัว แต่ทุกครั้งที่คุณชาร์จอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน ปลั๊กจะแปลงไฟ AC เป็น DC

การชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (AC)
เมื่อพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้า ตัวแปลงสัญญาณจะถูกสร้างขึ้นภายในรถ เรียกว่า “Onboard Charger” เป็นตัวแปลงพลังงานจาก AC เป็น DC แล้วป้อนเข้าสู่แบตเตอรี่ของรถยนต์ นี่เป็นวิธีการชาร์จที่ใช้บ่อยที่สุดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน และเครื่องชาร์จส่วนใหญ่ใช้ไฟกระแสสลับ

การชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (DC)
ดังที่เราได้เรียนรู้ พลังงานจากกริดนั้นเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเสมอ ความแตกต่างระหว่างการชาร์จ AC และการชาร์จ DC คือตำแหน่งที่แปลงไฟ AC ภายในหรือภายนอกรถที่ชาร์จ DC ต่างจากเครื่องชาร์จ AC ตรงที่มีตัวแปลงอยู่ภายในเครื่องชาร์จ ซึ่งหมายความว่าสามารถป้อนพลังงานให้กับแบตเตอรี่ของรถยนต์ได้โดยตรง และไม่จำเป็นต้องใช้ที่ชาร์จในตัวเพื่อแปลงแบตเตอรี่ ที่ชาร์จ DC นั้นใหญ่กว่า เร็วกว่า และเป็นความก้าวหน้าที่น่าตื่นเต้นเมื่อพูดถึง EV

ทำไมเราต้องมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า?

การติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นปลอดภัยกว่า เร็วกว่าและประหยัดกว่ามาก เพราะเครื่องชาร์จสามารถควบคุมการไหลของพลังงานผ่านสายเคเบิล ไม่เหมือนการใช้สายชาร์จที่แถมมาจากรถ เพราะสายชาร์จที่แถมมาจากรถควรใช้เฉพาะสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้นเนื่องจากปลั๊กไฟบ้านที่เสียบกับสายชาร์จที่แถมจากรถอาจเกิดความร้อนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนั้นเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าประหยัดกว่าด้วยราคาที่ถูกกว่าเพราะคุณสามารถชาร์จรถของคุณได้ในช่วงเวลาที่ไม่พีคเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้

เครื่อง EV Charger คืออะไร ?

Electric Vehicle Supply Equipment (EVSE) ชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการคือ บริภัณฑ์จ่ายไฟยานยนต์ บริภัณฑ์หรือการรวมกันของบริภัณฑ์ ที่มีการจัดเตรียมเพื่อจุดประสงค์ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากการติดตั้งทางไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่กับที่ ไปยังยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อจุดประสงค์สำหรับการอัดประจุไฟฟ้า  ตามเอกสารเลขที่ MPESTD-001:2563 แค่เห็นชื่อก็พากันงงแล้วใช่ไหมล่ะครับ ผมยังงงเลยว่าทำไมชื่อและความหมายมันยาวอย่างนี้ แต่ก่อนอื่นเลยเรามาทำความเข้าใจกันกับเจ้าตัวเครื่องชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้าตัวนี้กันก่อน และผมจะขอเรียกมันสั้นๆว่า EVSE นะครับ และบางท่านอาจะยังไม่เข้าใจว่าเจ้าตัวเครื่อง EVSE มันทำหน้าที่อะไรบ้าง ผมขอบอกเป็นภาษาช่างหรือบ้านๆทั่วไปก็คือมันทำหน้าที่เหมือนกับสวิทซ์ไฟทั่วๆไป จ่ายกับหยุดปล่อยไฟให้โหลด แล้วผมก็จะขอบอกใว้ก่อนเลยว่าเจ้าตัวเครื่อง EVSE มันไม่ได้ทำหน้าที่ในการชาร์จไฟแต่อย่างใด? อ้าวถ้ามันไม่ได้ทำหน้าที่ในการชาร์จไฟแล้วมันทำหน้าที่อะไร?ทำไมคนถึงเรียกมันว่าเครื่องชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า เรามาดูหน้าที่หลักๆของมันกันก่อนเลยว่ามันทำหน้าที่อะไรบ้าง และหน้าที่หลักๆของมันก็คือ 

  • เชื่อมต่อรถเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเมื่อรถพร้อมชาร์จ (พร้อมที่จะจ่ายไฟเข้าไปในรถ)
  • ตัดการเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟเมื่อรถหยุดชาร์จ (ตัดไฟเมื่อมีการชาร์จไฟเต็ม หรือ มีการตั้งเวลาในการชาร์จให้หยุด หรือเกิดเหตุผิดปรกติของเครื่อง มีความร้อนสูง ไฟรั่ว ไฟช็อต สายหรือหัวชารฺจเกิดการผิดปรกติ ฯลฯ)
  • บอกรถว่าอนุญาติให้ดึงกระแสสูงสุดได้กี่แอมป์ (มีการสื่อสารกันระหว่างเครื่องกับรถว่าอยู่ในสถานะใด เช่นมีการเสียบสายเข้ากับตัวรถ หรือดึงสายออกแล้ว พร้อมที่จะชาร์จแล้วให้ปล่อยไฟออกมาได้ ตามขนาดของตัว Onboard Charger)
  • ตรวจเช็คระบบความปลอดภัยต่างๆเช่น GFCI,อุณภูมิ, ฯลฯ-
  • บอกรายละเอียดการทำงานของเครื่อง
  • Onboard EV Charger ล่ะคืออะไร ?

  • เป็นอุปกรณ์ที่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในระบบการชาร์จแบตเตอรี่ในตัวของรถยนต์ EV โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ AC เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC ทั้งนี้ขนาดของ On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ EV ขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ขนาด on-board charger มีศัพเรียกกันเป็นหน่วย(หน่วย kW) ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟให้แบตเตอรี่ 
  • EV Charger Station คือสถานีสำหรับชาร์จรถไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นที่ชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า คำว่าสถานีสำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ก็คือ ถ้าเราติดตั้งเครื่อง EVSE ใว้ที่บ้านของเรา ก็หมายความว่าเรามีสถานีในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใว้ใช้ส่วนตัวที่บ้าน ถ้าเวลาที่เราออกนอกบ้านเราก็ไปใช้บริการสถานีชาร์จสาธารณะ รูปแบบการชาร์จซึ่งสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Normal Charge คือการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่ยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC ขนาดของตัว On Board Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถยนต์ ซึ่งขนาดของ On Board Charger จะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่รถยนต์ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24 KWh และมี On Board Charger ขนาด 3KW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยุ่ที่ 8 ชั่วโมง

  • Quick Charge คือการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charger (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่แปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยกว่าแบบ Normal Charger หัวชาร์จ (SOCKET) ของตู้ EV Charger จะมีทั้งแบบที่เป็น AC และ แบบ DC ประเภทของหัวชาร์จจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 24kWh โดยใช้ตู้ EV Charger แบบ Quick Charge ที่มีกำลังชาร์จอยู่ที่ 50kW ระยะเวลาในการชาร์จจะอยู่ที่ไม่เกิน 1/2 ชั่วโมง

ควรติดตั้ง EV Charger ให้เหมาะกับการใช้งาน โดยคำนึงจากสถานที่ติดตั้งและความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการชาร์จ เช่น หากเป็นบ้านพักควรติดตั้ง EV Charger แบบ AC ก็เพียงพอ หากเป็นสถานที่ที่ต้องการใช้ความเร็วในการชาร์จ ก็สามารถเลือกเป็นการชาร์จแบบ DC ซึ่งมีระดับการชาร์จถึง 3 ระดับ คือ DC destination , DC fast และ DC High Power ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะน้อยลงตามลำดับ ถามคำเดียวอธิบายให้เสียยาวเลย