รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหน

เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินได้เห็นรถไฟฟ้า EV ผ่านหูผ่านตากันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบเราจะมาทำความรู้จักกับรถไฟฟ้า EV ไปพร้อม ๆ กันเลย ซึ่ง EV ย่อมาจาก Electric Vehicle นั่นก็คือเป็นรถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้พลังงานโดยไฟฟ้า เรียกได้ว่า 100% เลยทีเดียว เหมาะมากกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ราคาน้ำมันค่อนข้างสูง EV เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างน้ำมัน เนื่องจากสามารถชาร์จไฟฟ้าจากจุดบริการ หรือ ไฟบ้านเองก็สามารถทำได้แต่ใช่ว่าไฟบ้านจะสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ทุกหลัง เพราะอาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างนั่นเอง ซึ่งข้อควรรู้ รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหนนะ? มาดูกันเลย

รถยนต์ไฟฟ้า EV ต้องใช้ไฟบ้านแบบไหน

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าระบบของรถยนต์ไฟฟ้านั้นทำงานอย่างไร และมีอุปกรณ์สำหรับชาร์จแบบไหนบ้าง ในบทความนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักพร้อม ๆ กันเลย

  • EV Charger หรือ EV Socket เป็นเต้ารับสำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะมีลักษณะเป็น 3 รู ทั้งนี้รูปทรงของ EV Charger จะมีรูปทรงแตกต่างกันออกไปตามยี่ห้อหรือรุ่นของ รถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคัน และต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 16 (A)
  • ตู้ควบคุมไฟฟ้า (Main Distribution Board) หรือ ตู้สวิตช์บอร์ด (Switchboards ) เป็นตู้ที่ใช้ควบคุมไฟฟ้าสำหรับการจ่ายไฟฟ้าและรับไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้กันภายในอาคารที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ภายในตู้จะสังเกตุเห็นช่องว่างอีก 1 ช่อง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มตู้ควบคุมย่อยเพิ่มเติมได้
  • เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device) คือ เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดกระแสไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถ้าสายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม
  • สายเมน (Miniature circuit breaker) หรือเรียกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย MCB ซึ่งสำหรับการใช้งานแล้วสาย Main ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้มีขนาด 25 ตร.มม. นอกจากนี้ยังต้องเปลี่ยนลูกเซอร์กิต (MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB เป็น 100(A) ด้วยเช่นกัน
  • ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งต้องทำการสำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยปกติบ้านพักส่วนใหญ่จะมีขนาดมิเตอร์ทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส (1P) ตีเป็นมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถรองรับการใช้งานไฟฟ้าได้มากถึง 45(A) ดังนั้นแล้วหากเพื่อน ๆ ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านของตนเองแล้วก็ ขอแนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) เพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าเกินขนาด

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่แบบ?

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ  3 แบบด้วยกันได้แก่

1. การชาร์จแบบธรรมดา (NORMAL CHARGE) จะเป็นเต้ารับภายในบ้านโดยตรง สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำได้ถึง 15(45)A และต้องติตั้งเต้ารับของบ้านใหม่ให้เป็นเต้ารับเฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้เต้ารับแบบธรรมดาได้ ใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชั่วโมง ทั้งนี้การชาร์จแบบธรรมดายังมีหัวชาร์จอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่

  • หัวชาร์จที่นิยมใช้ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น แบบกระแสสลับใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ 120 V หรือ 240 V
  • หัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป แบบพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ รองรับแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 120 V หรือ 240 V

2. การชาร์จแบบด่วน (QUICK CHARGER) เป็นการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนที่อยากได้ความรวดเร็วในการชาร์จของขอแนะนำแบบเร็วนี้เลย แต่ถ้าอยากได้เร็วกว่านี้ก็มีแบบด่วนด้วยนะ ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 40-60 นาที นิแต่แบบด่วนนิยมใช้กันตามสถานีบริการนอกบ้านมากกว่า ชาร์จได้เร็วก็จริงแต่ก็มีข้อเสียคือทำให้ตัวแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็ว

3. การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge)  เป็น EV Charger แบบไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชั่วโมง

เมื่อเราทราบถึงองค์ประกอบเกี่ยวกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV โดยการใช้ไฟบ้านคร่าว ๆ จากข้างต้นกันแล้ว ต่อไปจะพาเพื่อน ๆ มาหาวิธีคำนวณค่าไฟจากการชาร์จกัน

วิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV

เรื่องค่าใช้จ่าย เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ ยิ่งเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายภายในบ้านต้องมีการวางแผนอย่างรอบครอบดังนั้นหากจะชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่บ้าน ต้องคำนวณค่าไฟอย่างไร ตามมาดูกันเลย

สมมุติ : รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จสูงสุดที่ 7.4 kW

ถ้าไฟฟ้า 1 หน่วย = 1 kW สมมุติว่า 4 บาทต่อ 1 หน่วย

  • ชาร์จไฟ 1 ชั่วโมง คิดอัตราค่าบริการไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 1 = 29.6 บาท
  • ชาร์จไฟ 2 ชั่วโมง คิดอัตราค่าบริการไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 2 = 59.2 บาท
  • ชาร์จไฟ 8 ชั่วโมง คิดอัตราค่าบริการไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 8 = 236.8 บาท

ถ้าขับรถยนต์ในระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ก็จะตกเพียง 1.4 บาทต่อกิโลเมตร เผลอ ๆ หากเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วค่อนข้างแตกต่าง และรถยนต์ไฟฟ้าก็ประหยัดงบประมาณได้มากกว่าด้วย

และนี่ก็เป็นบทความส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้า EV ที่ช่วยให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับการทำงานของระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV โดยเฉพาะการชาร์จด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าจากบ้าน ดังนั้นหากเพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังมองหารถไฟฟ้าสักคันอยู่ ก็อย่าลืมสำรวจตัวบ้านไปพร้อม ๆ กัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเตรียมระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากันด้วยนะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *