สิ่งที่ควรรู้ ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
ในปัจจุบันทั้งสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น รวมถึงหลายๆ ประเทศในแถบยุโรป เริ่มหันมาใช้ รถยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) กันอย่างแพร่หลาย จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังมาแรงในยุคนี้ ด้วยกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดมลภาวะต่อโลกของเรา
ในไทยเองก็มีหลายค่ายรถยนต์ที่ทยอยเปิดตัวรถ EV ตามกระแสโลก แต่รถ EV ก็ยังถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย ซึ่งอาจจะยังไม่คุ้นชินจากการเปลี่ยนจากรถยนต์สันดาปภายในหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน มาเป็นรถ EV หรือการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องทำความเข้าใจ วันนี้ Wallbox EV Charger Khonkaen มี 5 สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อนจะซื้อหรือใช้รถยนต์ EV เพื่อความเข้าใจถ่องแท้ก่อนจะตัดสินใจจ่ายเงินก้อนโต
1. ระยะทางที่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) วิ่งได้ ต่อการชาร์จแบตเตอรี่เต็มครั้งหนึ่ง
รถยนต์ไฟฟ้า (EV) สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทหลัก Mode 1 ถึง Mode 4 แต่ถ้าให้นับเฉพาะรุ่นที่สามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ได้ จะมี 2 ประเภท คือ Plug-in Hybrid (PHEV) และ Battery Electric Vehicle (BEV) เท่านั้น
-PHEV ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ โดยคนไทยจะคุ้นกันในชื่อ รถไฮบริด (Hybrid) ซึ่งจะได้เปรียบด้านความยืดหยุ่นในด้านพลังงานเลือกได้ทั้งไฟฟ้าและน้ำมัน แต่ต้องแลกมากับแบตเตอรี่ขนาดเล็กลง โดยระยะทางที่วิ่งได้ด้วยพลังไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับความจุแบตเตอรี่ ส่วนใหญู่อยู่ที่ 6-14 kW สามารถวิ่งได้ 25-50 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง
– BEV ใช้พลังงานไฟฟ้า 100 % ไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ เติมพลังงานผ่านการชาร์จไฟเท่านั้น เช่น รถเทสล่า (Tesla) Model 3 รถยนต์ไฟฟ้า BEV จะมีแบตเตอรี่ความจุ 60-90 kW วิ่งได้ไกลถึง 338-473 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง
2.การชาร์จรถ EV สามารถทำที่บ้านได้หรือไม่?
การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเต้ารับไฟบ้าน ต้องทำการขอมิเตอร์ไฟที่รองรับกระแส 15A จากการไฟฟ้า พร้อมติดตั้งเต้ารับเฉพาะสำหรับใช้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้งเครื่อง Wallbox EV Charger (เครื่อง Mode 3) ที่รับกระแสไฟ AC ได้ระหว่าง 16-32A สามารถชาร์จได้รวดเร็ว เต็มประสิทธิภาพ และมีระบบตัดไฟเมื่อชาร์จเต็ม และระบบป้องกันไฟเกินและความร้อนสูง ให้ความปลอดภัยต่อบ้าน ระบบไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ เสียหาย
ส่วนใหญ่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) มักมาพร้อมสายชาร์จแถม (สาย Mode 2) ซึ่งเหมาะกับการใช้งานฉุกเฉิน แบบระยะสั้นๆ แค่ชาร์จให้แบตเตอรี่พอมีประจุ เพื่อให้สามารถขับต่อกลับบ้านหรือไปยังสถานีชาร์จที่ใกล้ที่สุดเท่านั้น ไม่มีระบบใดๆ ในการป้องกันความเสียหายจากไฟฟ้า
3. ชาร์จนอกสถานที่หรือที่สถานีชาร์จได้หรือไม่?
ทำได้! เพราะปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีการให้บริการชาร์จไฟรถบ้านสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งตามปั๊มน้ำมันและห้างสรรพสินค้า ให้เห็นมากขึ้น อาจจะไม่แพร่หลายถึงขนาดมีทุกๆ ที่ แต่ก็มีให้ใช้งานพอสมควรในกรุงเทพฯ เพียงแต่ระบบชาร์จส่วนใหญ่จะเป็นระบบชาร์จกระแสสลับ และไม่มีหัวชาร์จครบทุกรูปแบบ ทำให้รถบางยี่ห้ออาจจะชาร์จไม่ได้ เพราะแต่ละประเทศจะใช้มาตรฐานหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน
4.รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จนานแค่ไหน?
เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ของรถยนต์ EV แต่ละคันไม่เท่ากัน เนื่องจากมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ที่ต่างกัน หากใช้สายชาร์จแถม (Mode 2) ก็จะใช้เวลาชาร์จนาน ชาร์จได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากใช้ชาร์จรถไฮบริด (Hybrid) ที่มีแบตเตอรี่ขนาดเล็ก ความจุ 6 – 14 kW จะใช้เวลาประมาณ 3 – 7 ชั่วโมง และหากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ แบตเตอรี่จะมีขนาดใหญ่ 60 – 90 kW ใช้เวลาชาร์จนานถึง 40 ชั่วโมง
ส่วนการติดตั้งเครื่อง Wallbox EV Charger (Mode 3) จะสามารถช่วยย่นระยะชาร์จเวลาได้มาก ตามประสิทธิภาพรถและรุ่นรถ โดยเครื่องชาร์จ สามารถชาร์จรถไฮบริด (Hybrid) จนเต็มได้ในเวลาเพียง 1-2 ชม. ส่วนรถพลังงานไฟฟ้าล้วน จะลดเวลาชาร์จจนเต็ม (จากสายแถม 40 ชม.) ให้เหลือเพียง 3-4 ชม. เท่านั้น
5. ราคาค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่าย
หากหยิบยกค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์สันดาปภายในมาเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ค่าชาร์จพลังงานด้านพลังงานของรถ EV จะประหยัดกว่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงถึง 3 เท่า!! โดยอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะอยู่ที่ 3 บาท/กิโลเมตร ส่วนค่าไฟในการชาร์จรถ EV จะอยู่ราวๆ 0.3 – 1 บาท/กิโลเมตร เท่านั้น แต่หากชาร์จตามสถานที่อื่นๆ ก็อาจจะมีเพิ่มค่าบริการอีกเล็กน้อย ตามแต่สถานที่
จาก 5 เรื่องน่ารู้ที่ได้เล่าไปข้างต้น คิดว่าพร้อมสำหรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่? อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงบ้าง แต่ก็เป็นระยะสั้นๆ ตอนซื้อรถ และช่วงติดตั้งเครื่องชาร์จ Wallbox EV Charger แต่ในระยะยาวนอกจากจะมีค่าซ่อมบำรุงและเชื้อเพลิงที่น้อยกว่าแล้ว ก็ยังดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
credit: carsome.co.th